ภาพสวยๆของปราสาทหินพิมาย


1. เนื้อหาสาระ
เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับโบราณสถานที่มีความเก่าแก่ที่เกิดขึ้นอยู่กับคนไทยมาช้านาน โดยได้รับอิทธิพลจากเขมรในสมัยนั้น ซึ่งโบราณสถานเหล่านี้มีเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย และโบราณสถานแห่งนี้คือ อุทยานปราสาทหินพิมาย ซึ่งยังคงความสวยงามในรูปแบบศิลปะขอมไว้ให้เราได้ชื่นชมความงามนั้นอยู่ และบางสิ่งบางอย่างก็ได้บูรณะซ่อมแซมจากการชำทรุดจากอายุระยะเวลาที่ยาวนานให้ดูสมบูรณ์ดั่งเดิม เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจทั้งของชาวไทยและชาวต่างชาติต่อไป
2. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อให้คนไทยรู้จักแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นอีกสักหนึ่งแห่งจากหลายๆสถานที่ทั่วประเทศ
- เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าของโบราณสถานที่เก่าแก่ของไทยหรือของท้องถิ่นของตนเอง
- เพื่อให้คนไทยหรือคนในท้องถิ่นช่วยกันดูแลรักษาบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานแห่งนี้ให้คงอยู่กับคนไทยสืบต่อไป
- เพื่อเผยแพร่ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวของท้องถิ่นให้ทุกคนได้รู้จักทั้งไทยและต่างประเทศ
- เพื่อเป็นการพัฒนาระบบเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวให้ดียิ่งขึ้น
- เพื่อให้คนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มมากขึ้นมีการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
- เพื่อเป็นการเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ตั้งแต่โบราณกาลของท้องถิ่นอำเภอพิมาย
- เพื่อทำให้เกิดความภาคภูมิใจในสถานที่ท่องเที่ยวของตนเอง
3. เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ (0-5) ได้ 5 คะแนน
จากเนื้อหาในบล็อคนี้มีประโยชน์ต่อผู้เข้าชมในด้านต่างๆคือ
- ด้านประวัติศาสตร์จากเนื้อหาทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของเมืองพิมายและอุทยานปราสาทหินพิมายในการรับเอาแบบแผนการสร้างปราสาทแบบศิลปะขอม
- ด้านตัวโบราณวัตถุโบราณสถานทำให้รู้ถึงโบราณสถานอีกมากมายที่มีอยู่ในตัวปราสาทหินว่ามีอะไรบ้าง โบราณสถานต่างๆนั้นมีความสำคัญอย่างไรและอยู่ตรงตำแหน่งไหนของปราสาทหิน
- ด้านสภาพแวดล้อมทำให้รู้ถึงสภาพพื้นที่ของตัวปราสาทหินที่ดูแล้วมีความสวยงามร่มรื่นด้วยร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ต่างๆ
- ด้านประติมากรรม ที่มีรูปแบบเอกลักษณ์ศิลปะขอมมีทับหลังที่สวยงาม
- ด้านการเดินทาง ทำให้รู้จักเส้นทางการเดินทางที่มากยิ่งขึ้นจากแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่เคยไปสัมผัส
4. ความน่าสนใจ (0-5) ได้ 4 คะเเนน
- มีเนื้อหาที่น่าสนใจน่าอ่าน เนื้อหาไม่มากหรือยาวจนเกินไปอ่านแล้วสรุปเข้าใจง่าย
- มีภาพประกอบในบางเนื้อหาเพื่อเป็นการไม่น่าเบื่อในการอ่านเนื้อหา
- มีลักษณะของภาพพื้นหลังที่ดูแล้วสบายตาเข้ากับเนื้อหาที่จัดทำ
- ไม่มีรูปภาพมากจนเกินไปดูแล้วไม่สบายตาเพราะมันแออัดเกินไป
- มีการเพิ่มเนื้อหาข้อมูลค่อนข้างสม่ำเสมอ
5. ความทันสมัย (0-5) ได้ 5 คะแนน
- มีการอัพเดตข้อมูลอยู่อย่างสม่ำเสมอ
- รูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจไม่ยุ่งยากง่ายต่อการเข้าชม
- การจัดวางข้อมูลเนื้อหาไม่ซับซ้อน
- ปรับเปลี่ยนข้อมูลเมื่อมีความผิดพลาดจากการติชมของผู้เข้าชม
- ข้อมูลที่มามีแหล่งอ้างอิงได้
6. การออกแบบ/ความสวยงาม (0-5) ได้ 4 คะแนน
- มีแบบพื้นหลังที่ดูแล้วเข้ากับเนื้อหาที่นำเสนอ
- มีภาพที่ดูแล้วสบายตาสวยงามเข้ากับเนื้อหา
- ลักษณะตัวอักษรที่เด่นชัดอ่านง่าย
- สีตัวอักษรที่อ่านง่ายเข้ากับพื้นหลัง
- มีการออกแบบปรับปรุงให้มีความสวยงามน่าเข้าชม
7. ความเรียบง่าย(อ่านง่าย/เข้าใจง่าย) (0-5) ได้ 5 คะแนน
- การจัดวางรูปแบบบล็อกมีความเรียบง่าย
- เนื้อหาอ่านง่ายเข้าใจง่าย
- สามารถเข้าชมบล็อกที่ง่ายต่อการค้นหา
- การจัดลำดับเนื้อหาไม่สับสน
- สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้ชมได้ทุกเพศทุกวัยเพราะมีรูปแบบการนำเสนอที่ไม่ยุ่งยาก

สรุปคะแนน 23 คะแนน


เป็นโบราณสถานนอกกำแพงเมือง ตั้งอยู่ริมลำน้ำเค็มทางทิศใต้ของเมือง เดิมทีเป็นเพียงเนินดินใหญ่ที่มีเศษภาชนะดินเผาและเศษกระเบื้อง กระทั่งได้รับการขุดแต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2531 จึงพอเห็นรูปรอยว่าเป็นอาคารทรงกากบาทก่อด้วยศิลาแลงมีฐานเป็นชั้น ๆ และพบร่องรอยหลุมขนาดเล็กอยู่ที่มุมอาคารทุกจุด นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าคงเป็นศาลาจัตุรมุข ซึ่งเป็นท่ารับเสด็จเจ้านายทางฝั่งพิมาย เพราะเป็นท่าน้ำแห่งเดียวที่อยู่ในแนวถนนโบราณห่างจากท่านางสระผมไปเล็กน้อยมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 200 ม. ยาว 400 ม. เรียกว่าสระช่องแมว แต่ไม่ปรากฏเรื่องราวว่ามีความสำคัญใด


บริเวณที่ตั้งกุฏิฤาษีเป็นจุดสิ้นสุดของถนนโบราณที่มีต้นทางจากเมืองพระนครในเขมร แต่ไม่เหลือร่องรอยถนนไว้ให้เห็นเพราะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน กุฏิฤาษีเชื่อว่าเป็นอโรคยาศาลสร้างขึ้นช่วงรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองแห่งอาณาจักรขอม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอโรคยาศาลตามเส้นทางโบราณไว้เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันนี้เหลือให้เห็นเพียงซากกำแพงศิลาแลงกับปราสาทเท่านั้น


เป็นหนึ่งในประตูเมืองซึ่งมีอยู่ทั้งสี่ทิศ ประตูชัยอยู่ทางด้านทิศใต้ของปราสาทหินพิมายรับกับถนนโบราณที่ทอดตรงมาจากเมืองพระนครในเขมร มีแผนผังการก่อสร้างเหมือนกันทุกประตู คือเจาะเป็นช่องสูงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลง ด้านข้างทั้งสองด้านของประตูมีห้องอยู่สามห้อง เทคนิคการสร้างประตูเมืองนี้บ่งบอกว่าอยู่ในยุคสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทำให้สันนิษฐานได้ว่าประตูเมืองคงได้รับการสร้างเพิ่มเติมขึ้นภายหลังในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7


โบราณสถานเขมรมักมีสระน้ำ หรือที่ภาษาเขมรเรียกว่าบาราย อยู่คู่กันแทบทุกแห่ง เป็นสระที่ขุดขึ้นเพื่อเก็บกักน้ำไว้อุปโภคบริโภค บางคนก็เชื่อว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรม บริเวณเมืองพิมายมีบารายอยู่หลาย แห่งที่อยู่ภายในกำแพงเมือง คือ สระแก้ว สระพรุ่ง และสระขวัญ นอกเขตกำแพงเมืองคือสระเพลง อยู่ทางทิศตะวันออก สระโบสถ์ อยู่ทางทิศตะวันตก


เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายสีแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ตั้งอยู่ใกล้ซุ้มประตูทิศตะวันตก นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่เก็บรักษาตำราทางศาสนา หรืออาจเป็นที่ประทับของกษัตริย์เมื่อเสด็จมาทรงประกอบพิธีกรรม