ภาพสวยๆของปราสาทหินพิมาย


1. เนื้อหาสาระ
เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับโบราณสถานที่มีความเก่าแก่ที่เกิดขึ้นอยู่กับคนไทยมาช้านาน โดยได้รับอิทธิพลจากเขมรในสมัยนั้น ซึ่งโบราณสถานเหล่านี้มีเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย และโบราณสถานแห่งนี้คือ อุทยานปราสาทหินพิมาย ซึ่งยังคงความสวยงามในรูปแบบศิลปะขอมไว้ให้เราได้ชื่นชมความงามนั้นอยู่ และบางสิ่งบางอย่างก็ได้บูรณะซ่อมแซมจากการชำทรุดจากอายุระยะเวลาที่ยาวนานให้ดูสมบูรณ์ดั่งเดิม เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจทั้งของชาวไทยและชาวต่างชาติต่อไป
2. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อให้คนไทยรู้จักแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นอีกสักหนึ่งแห่งจากหลายๆสถานที่ทั่วประเทศ
- เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าของโบราณสถานที่เก่าแก่ของไทยหรือของท้องถิ่นของตนเอง
- เพื่อให้คนไทยหรือคนในท้องถิ่นช่วยกันดูแลรักษาบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานแห่งนี้ให้คงอยู่กับคนไทยสืบต่อไป
- เพื่อเผยแพร่ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวของท้องถิ่นให้ทุกคนได้รู้จักทั้งไทยและต่างประเทศ
- เพื่อเป็นการพัฒนาระบบเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวให้ดียิ่งขึ้น
- เพื่อให้คนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มมากขึ้นมีการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
- เพื่อเป็นการเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ตั้งแต่โบราณกาลของท้องถิ่นอำเภอพิมาย
- เพื่อทำให้เกิดความภาคภูมิใจในสถานที่ท่องเที่ยวของตนเอง
3. เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ (0-5) ได้ 5 คะแนน
จากเนื้อหาในบล็อคนี้มีประโยชน์ต่อผู้เข้าชมในด้านต่างๆคือ
- ด้านประวัติศาสตร์จากเนื้อหาทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของเมืองพิมายและอุทยานปราสาทหินพิมายในการรับเอาแบบแผนการสร้างปราสาทแบบศิลปะขอม
- ด้านตัวโบราณวัตถุโบราณสถานทำให้รู้ถึงโบราณสถานอีกมากมายที่มีอยู่ในตัวปราสาทหินว่ามีอะไรบ้าง โบราณสถานต่างๆนั้นมีความสำคัญอย่างไรและอยู่ตรงตำแหน่งไหนของปราสาทหิน
- ด้านสภาพแวดล้อมทำให้รู้ถึงสภาพพื้นที่ของตัวปราสาทหินที่ดูแล้วมีความสวยงามร่มรื่นด้วยร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ต่างๆ
- ด้านประติมากรรม ที่มีรูปแบบเอกลักษณ์ศิลปะขอมมีทับหลังที่สวยงาม
- ด้านการเดินทาง ทำให้รู้จักเส้นทางการเดินทางที่มากยิ่งขึ้นจากแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่เคยไปสัมผัส
4. ความน่าสนใจ (0-5) ได้ 4 คะเเนน
- มีเนื้อหาที่น่าสนใจน่าอ่าน เนื้อหาไม่มากหรือยาวจนเกินไปอ่านแล้วสรุปเข้าใจง่าย
- มีภาพประกอบในบางเนื้อหาเพื่อเป็นการไม่น่าเบื่อในการอ่านเนื้อหา
- มีลักษณะของภาพพื้นหลังที่ดูแล้วสบายตาเข้ากับเนื้อหาที่จัดทำ
- ไม่มีรูปภาพมากจนเกินไปดูแล้วไม่สบายตาเพราะมันแออัดเกินไป
- มีการเพิ่มเนื้อหาข้อมูลค่อนข้างสม่ำเสมอ
5. ความทันสมัย (0-5) ได้ 5 คะแนน
- มีการอัพเดตข้อมูลอยู่อย่างสม่ำเสมอ
- รูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจไม่ยุ่งยากง่ายต่อการเข้าชม
- การจัดวางข้อมูลเนื้อหาไม่ซับซ้อน
- ปรับเปลี่ยนข้อมูลเมื่อมีความผิดพลาดจากการติชมของผู้เข้าชม
- ข้อมูลที่มามีแหล่งอ้างอิงได้
6. การออกแบบ/ความสวยงาม (0-5) ได้ 4 คะแนน
- มีแบบพื้นหลังที่ดูแล้วเข้ากับเนื้อหาที่นำเสนอ
- มีภาพที่ดูแล้วสบายตาสวยงามเข้ากับเนื้อหา
- ลักษณะตัวอักษรที่เด่นชัดอ่านง่าย
- สีตัวอักษรที่อ่านง่ายเข้ากับพื้นหลัง
- มีการออกแบบปรับปรุงให้มีความสวยงามน่าเข้าชม
7. ความเรียบง่าย(อ่านง่าย/เข้าใจง่าย) (0-5) ได้ 5 คะแนน
- การจัดวางรูปแบบบล็อกมีความเรียบง่าย
- เนื้อหาอ่านง่ายเข้าใจง่าย
- สามารถเข้าชมบล็อกที่ง่ายต่อการค้นหา
- การจัดลำดับเนื้อหาไม่สับสน
- สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้ชมได้ทุกเพศทุกวัยเพราะมีรูปแบบการนำเสนอที่ไม่ยุ่งยาก

สรุปคะแนน 23 คะแนน


เป็นโบราณสถานนอกกำแพงเมือง ตั้งอยู่ริมลำน้ำเค็มทางทิศใต้ของเมือง เดิมทีเป็นเพียงเนินดินใหญ่ที่มีเศษภาชนะดินเผาและเศษกระเบื้อง กระทั่งได้รับการขุดแต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2531 จึงพอเห็นรูปรอยว่าเป็นอาคารทรงกากบาทก่อด้วยศิลาแลงมีฐานเป็นชั้น ๆ และพบร่องรอยหลุมขนาดเล็กอยู่ที่มุมอาคารทุกจุด นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าคงเป็นศาลาจัตุรมุข ซึ่งเป็นท่ารับเสด็จเจ้านายทางฝั่งพิมาย เพราะเป็นท่าน้ำแห่งเดียวที่อยู่ในแนวถนนโบราณห่างจากท่านางสระผมไปเล็กน้อยมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 200 ม. ยาว 400 ม. เรียกว่าสระช่องแมว แต่ไม่ปรากฏเรื่องราวว่ามีความสำคัญใด


บริเวณที่ตั้งกุฏิฤาษีเป็นจุดสิ้นสุดของถนนโบราณที่มีต้นทางจากเมืองพระนครในเขมร แต่ไม่เหลือร่องรอยถนนไว้ให้เห็นเพราะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน กุฏิฤาษีเชื่อว่าเป็นอโรคยาศาลสร้างขึ้นช่วงรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองแห่งอาณาจักรขอม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอโรคยาศาลตามเส้นทางโบราณไว้เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันนี้เหลือให้เห็นเพียงซากกำแพงศิลาแลงกับปราสาทเท่านั้น


เป็นหนึ่งในประตูเมืองซึ่งมีอยู่ทั้งสี่ทิศ ประตูชัยอยู่ทางด้านทิศใต้ของปราสาทหินพิมายรับกับถนนโบราณที่ทอดตรงมาจากเมืองพระนครในเขมร มีแผนผังการก่อสร้างเหมือนกันทุกประตู คือเจาะเป็นช่องสูงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลง ด้านข้างทั้งสองด้านของประตูมีห้องอยู่สามห้อง เทคนิคการสร้างประตูเมืองนี้บ่งบอกว่าอยู่ในยุคสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทำให้สันนิษฐานได้ว่าประตูเมืองคงได้รับการสร้างเพิ่มเติมขึ้นภายหลังในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7


โบราณสถานเขมรมักมีสระน้ำ หรือที่ภาษาเขมรเรียกว่าบาราย อยู่คู่กันแทบทุกแห่ง เป็นสระที่ขุดขึ้นเพื่อเก็บกักน้ำไว้อุปโภคบริโภค บางคนก็เชื่อว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรม บริเวณเมืองพิมายมีบารายอยู่หลาย แห่งที่อยู่ภายในกำแพงเมือง คือ สระแก้ว สระพรุ่ง และสระขวัญ นอกเขตกำแพงเมืองคือสระเพลง อยู่ทางทิศตะวันออก สระโบสถ์ อยู่ทางทิศตะวันตก


เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายสีแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ตั้งอยู่ใกล้ซุ้มประตูทิศตะวันตก นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่เก็บรักษาตำราทางศาสนา หรืออาจเป็นที่ประทับของกษัตริย์เมื่อเสด็จมาทรงประกอบพิธีกรรม


ตั้งอยู่ด้านขวาของปรางค์ประธาน ก่อด้วยหินทรายสีแดง มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 ในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย และได้พบศิวลึงค์ในหอพราหมณ์ซึ่งตั้งอยู่ติดกับปรางค์หินแดงถึงเจ็ดองค์ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นสถานที่ที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์


ก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724-1761) เมื่อคราวที่พระองค์ทรงบูรณะปราสาทหินพิมาย ภายในปรางค์พบประติมากรรมศิลารูปบุคคลขนาดใหญ่นั่งขัดสมาธิ ชาวบ้านเรียกกันว่าท้าวพรหมทัต แต่นักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นพระบรมรูปของพระเจ้าชัย-วรมันที่ 7 และพบรูปผู้หญิงนั่งคุกเข่าที่ชาวบ้านเรียกว่า นางอรพิมพ์ ในตำนานอรพิมพ์ ปาจิตต ซึ่งเป็นเรื่องเล่าในท้องถิ่น จนกลายเป็นชื่อบ้านนามเมืองในย่านเมืองพิมาย ประติมากรรมที่พบดังกล่าวสภาพไม่สมบูรณ์ ปัจจุบันนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย

ปรางค์ประธาน


มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวนปรางค์ทั้งสามองค์ สร้างขึ้นช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 หันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทขอมแห่งอื่น ๆ ที่มักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าหันไปยังที่ตั้งเมืองพระนคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงศูนย์กลางอำนาจของขอมในอดีต บ้างก็ว่าเป็นคติทางพุทธศาสนาที่ถือทิศใต้เป็นทิศแห่งการมีชีวิต
องค์ปรางค์ตั้งอยู่บนฐานสูงสองชั้นสลักลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายประจำยาม ลายกลีบบัวอย่างสวยงาม ก่อด้วยหินทรายสีขาวทำเป็นชั้นซ้อนกันขึ้นไปห้าชั้น ที่ส่วนยอดจำหลักเป็นรูปครุฑแบกทั้งสี่ทิศ เหนือขึ้นไปสลักเป็นรูปเทพประจำทิศต่าง ๆ และรูปดอกบัว นับเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่ต่างจากปราสาทหินที่พบทั่วไป
จากองค์ปรางค์ประธานมีมุขเชื่อมต่อกับห้องรูปสี่เหลี่ยมทางด้านทิศใต้หรือด้านหน้า ทำให้ภายในปรางค์ดูกว้างขวาง
ทับหลังและหน้าบันที่ประดับองค์ปรางค์ประธานส่วนใหญ่เล่าเรื่องรามายณะ และคติความเชื่อในศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์ เช่น หน้าบันด้านทิศใต้ หรือด้านหน้าก่อนเดินเข้าในองค์ปรางค์เป็นภาพศิวนาฏราช หรือพระศิวะฟ้อนรำ 108 ท่า ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า เมื่อใดที่พระศิวะฟ้อนรำผิดจังหวะ เมื่อนั้นโลกก็จะเกิดกลียุค นอกจากนี้ยังมีทับหลังที่จำหลักภาพอันเป็นหลักฐานสำคัญ ว่าปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา คือภาพพุทธประวัติตอน "มารวิชัย" และพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน


เมื่อมาถึงระเบียงก็ถือว่าเข้าสู่เขตชั้นในของปราสาทหินแล้ว พระระเบียงแต่ละด้านมีซุ้มประตูหรือโคปุระชั้นในอยู่กึ่งกลาง ที่น่าสนใจคือที่กรอบประตูด้านทิศใต้มีจารึกบนแผ่นหิน เป็นอักษรเขมรโบราณกล่าวถึงการสร้างเมืองพิมาย และการสร้างรูปเคารพ จากพระระเบียงจะเข้าสู่ชั้นในซึ่งเป็นส่วนสำคัญของปราสาทหินพิมาย มีปรางค์สามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ประธาน ปรางค์พรหมทัต และปรางค์หินแดง


มีทั้งหมดสี่ด้านอยู่กึ่งกลางแนวกำแพง ลักษณะการสร้างเหมือนกันทุกด้านคือมีขนาดกว้างสามคูหามีเสาศิลา ช่องลมประดับข้างละสองช่อง เคยพบทับหลังชิ้นหนึ่งที่โคปุระด้านทิศตะวันตก สลักเป็นรูปขบวนแห่พระพุทธรูปนาคปรกประดิษฐานบนคานหาม ทับหลังชิ้นนี้ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย


เป็นทางที่ทอดนำเข้าสู่ตัวปรางค์ มีนาคทอดตัวยาวเป็นราวบันได ชูเศียรทั้งเจ็ดแผ่พังพานเปล่งรัศมีอย่างสวยงาม นาคเป็นสัตว์มงคลที่มักพบตามโบราณสถาน ที่ได้รับอิทธิพลจากคติของศาสนาฮินดู หรือพราหมณ์ซึ่งเชื่อว่านาคทอดร่างเป็นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ที่เชิงบันไดนาคทั้งสองข้างมีสิงห์จำหลักจากหินประดับอยู่ข้างละตัว สิงห์มีท่าทางองอาจเสมือนเป็นผู้พิทักษ์โบราณสถาน ลักษณะทางศิลปกรรมของสิงห์และนาคนี้ คล้ายศิลปะที่นครวัดที่สร้างในช่วงรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656-1688)

จากประตูชัยเข้าไปก่อนถึงตัวปรางค์ จะเห็นคลังเงินตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก หรือทางด้านซ้ายมือ ปัจจุบันอาคารคลังเงินเหลือเพียงซากฐานขนาดใหญ่ เหตุที่เรียกอาคารหลังนี้ว่า "คลังเงิน" เพราะเคยพบเหรียญสำริดโบราณซึ่งด้านหนึ่งเป็นรูปครุฑหรือหงส์ อีกด้านหนึ่งเป็นอักษรโบราณ นอกจากนี้ยังพบทับหลังจำหลักเป็นรูปคนกำลังหลั่งน้ำมอบม้าแก่พราหมณ์

พลับพลา


ปราสาทหินพิมาย หันหน้าไปทางทิศใต้ไปทางที่ตั้งของเมืองพระนครซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรขอม ปราสาทหินพิมายมีแบบแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 ม. ยาว 1,030 ม. ล้อมรอบด้วยคูน้ำ มีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในบริเวณปราสาทหินมีโบราณสถานที่น่าสนใจหลายแห่งโดยเริ่มตั้งแต่ทางเข้าตามลำดับดังนี้
พลับพลา
ซึ่งเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นที่เตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูงเพื่อที่จะเปลี่ยนเครื่องทรงและจัดของสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในปราสาท เดิมเรียกว่า คลังเงิน เพราะได้ขุดพบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก ทั้งรูปเคารพ เครื่องประดับและเหรียญสำริดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ในการเดินทางเข้าสู่ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์จะเริ่มต้นที่ สะพานนาคราช ซึ่งทำเป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียรแผ่พังพานอยู่เพื่อนำไปสู่ ซุ้มประตู หรือ โคปุระ และ กำแพงแก้ว เมื่อเดินผ่านกำแพงแก้วแล้วก็จะถึง ชานชาลา ซึ่งเป็นทางเดินที่ก่อสร้างด้วยหินทรายเป็นเส้นทางนำไปสู่ ระเบียงคด ซึ่งมีซุ้มประตูอยู่ตรงกลางเช่นเดียวกับกำแพงแก้ว จากนั้นก็จะถึง ปราสาทประธาน หอพราหมณ์ ปรางค์หินแดง และ ปรางค์พรหมทัต โดยที่ทับหลังหรือหน้าบันของปราสาทประธานทางด้านทิศใต้ (ด้านหน้าปราสาท) จะเป็นรูป ศิวนาฏราช ส่วนทางด้านทิศอื่นๆ จะเป็นภาพเรื่องเล่าจาก รามเกียรติ์ และเรื่องราวทาง พุทธศาสนา และภายในห้อง ครรภคฤหะ จะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่
ที่มา
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2

การวิเคราะห์และประเมินผลงานสื่อนำเสนอแบบต่างๆ

ปัจจุบันสื่อมีความหลากหลายและเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น นอกจากช่องทางแบบเก่าคือ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมห์แล้ว มีช่องทางใหม่ๆผ่านสื่อดิจิตอล ได้แก่ เว็บ บล็อก โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (ipod) ข้อมูลข่าวสารทั้งหลายจึงทะลักสู่ผู้รับเป็นจำนวนมหาศาลตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน ผู้ส่งข่าวสารจึงกลายเป็นผู้กำหนดการรับรู้ข่าวสารของผู้รับไปโดยปริยายตาม ทฤษฎีของนักคิดด้านสังคมคนสำคัญคือ มิเชล ฟูโกต์(Michel Foucault) เสนอว่า สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างและรักษาอำนาจของเจ้าของสื่อหรือผู้ที่สามารถ ควบคุมสื่อไว้ในมือ อธิบายได้ว่า การใช้สื่อเผยแพร่แนวคิด อุดมคติ ความเชื่อ ให้แก่คนทั้งหลาย ตอกย้ำซ้ำเติมอยู่ตลอดเวลา จนผู้ที่รับข่าวสารเกิดความคล้อยตาม เชื่อ และทำตามผู้ที่เป็นเจ้าของหรือควบคุมสื่อต้องการในที่สุดจะเห็นได้ ชัดเจนในทางการเมืองที่รัฐจะใช้สื่อในการสร้างอุดมการณ์ทางการเมืองขึ้น ให้คนในชาติเกิดความ มีความคิดความเชื่อเป็นหนึ่งเดียว คล้อยตามการชี้นำของรัฐ นำไปสู่การจงรักภักดีต่อรัฐ จนในที่สุดรัฐหรือรัฐบาลสามารถบงการประชาชนให้เชื่อฟังและทำตามความต้องการ ได้ การอยู่ในอำนาจของรัฐบาลและรักษาอำนาจของตนก็ทำได้โดยง่ายดายปัจจุบัน สื่อก็เป็นเครื่องมือ ในการสร้างอำนาจให้แก่ผู้ใช้สื่ออยู่เช่นเดิม เพียงแต่อำนาจที่ว่านั้น ไม่ใช่อำนาจทางการเมืองเสมอไป เพราะการเป็นเจ้าของสื่อไม่ได้จำกัดอยู่ที่รัฐเพียงเท่านั้น เอกชนก็สามารถเป็นเจ้าของสื่อได้ ดังนั้น ผู้ที่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างและรักษาอำนาจของตน จึงเปิดกว้างมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมของรัฐ ผ่านการบังคับใช้กฎหมายต่างๆเมื่อการเป็นเจ้าของสื่อเปิดกว้างขึ้น การใช้สื่อก็กว้างขวางขึ้น ผู้ที่มีสื่อในมือก็สามารถใช้สื่อเป็นประโยชน์แก่ตนเองได้อย่างแทบไม่มีข้อ จำกัด เช่นในทางการเมือง รัฐก็ยังคงใช้สื่อภายใต้การกำกับหรือสื่อที่รัฐเป็นเจ้าของ ในการเผยแพร่ความ คิดอุดมการณ์ทางการเมืองอยู่เช่นเดิม ดังเช่น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เป็นสื่อที่รัฐเป็นเจ้าของ จึงทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ของรัฐเป็นหลักในการต่อสู้ทางการเมือง สื่อยิ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของแต่ละฝ่าย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่ฝ่ายตนและทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงกัน ข้าม ดังเช่น ความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงปี พ.ศ.2547-2549 โดยสองฝ่ายคือ ฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่รวมตัวกันในนาม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เคลื่อนไหวทางการเมืองโดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการกระทำอันมิชอบของ รัฐบาล และดำเนินการชุมนุมต่อต้านขับไล่รัฐบาลให้พ้นจากตำแหน่ง โดยมีประชาชนเป็นจำนวนมากเข้าร่วม ทั้งสองฝ่ายต่างใช้สื่อที่ตนครอบครองอยู่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ในมุมของตนออกสู่สาธารณชนในทางการค้า ปัจจุบันสื่อกลายเป็นเครื่องมืออันสำคัญยิ่งให้เจ้าของสินค้าใช้เป็นช่องทาง ในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ให้คนทั่วไปได้รับรู้ในสินค้าและบริการของตน รวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อถือและความนิยมในสินค้า ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม รูปแบบการนำเสนอได้ถูกคิดค้นขึ้นมานานาชนิด เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและสร้างความประทับใจให้ได้มากที่สุด อันจะนำไปสู่การซื้อสินค้าของกลุ่มเป้าหมายด้วยเหตุที่สื่อเป็นเครื่อง มืออันทรงพลังที่ทำให้ผู้คนรับรู้ เชื่อถือ คล้อยตาม และนำไปสู่การยอมรับ ดังนั้นเราจึงเห็นการขับเคี่ยวแข่งขันกันผ่านสื่อของเจ้าของสินค้าและบริการ รวมถึงในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้น คู่ขัดแย้งก็ใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความถูกต้องให้แก่ฝ่ายตนและ ทำลายความชอบธรรมของฝ่ายตรงกันข้าม คำถามก็คือ ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ผ่านสื่อนั้น มีข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงใดความ ชอบธรรม ความถูกต้อง ของฝ่ายตนกล่าวอ้างผ่านสื่อนั้น แท้จริงแล้วเป็นความถูกต้องความชอบธรรมที่แท้จริงหรือไม่ และความผิด ความไม่ชอบธรรมของฝ่ายตรงกันข้าม เป็นความจริงหรือไม่ นี่ย่อมเป็นคำถามที่มีต่อทุกฝ่ายที่ใช้สื่อ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาลหรือคุณภาพของสินค้าและบริการที่เผยแพร่ ผ่านสื่อนั้น มีความถูกต้องตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ โดยเฉพาะการโฆษณาที่มุ่งเสนอคุณภาพของสินค้าและบริการนั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเพียงใด เป็นความจริงที่แท้จริงของสินค้า หรือเป็นความจริงสมมติที่ถูกสร้างขึ้นเฉพาะในโฆษณาเท่านั้นสื่อจึงเป็น เหมือนสนามรบให้ทั้งสองฝ่ายทำสงครามกันอย่างดุเดือด สงครามข้อมูลผ่านสื่อนั้น ไม่ว่าเป็นสงครามแบบไหน ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือผู้รับสื่อ คือเราๆท่านๆที่บริโภคข่าวสาร ผ่านช่องทางต่างๆ อันเป็นกลุ่มเป้าหมายของคู่สงคราม ไม่ว่าจะเป็นสงครามการเมือง การค้า การตลาด การบริการผู้รับสื่อจึงต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ ก่อนที่จะเชื่อ จะเห็นด้วย และคล้อยตามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือสินค้าตัวใดตัวหนึ่งเพราะกระบวนการตกแต่งข้อมูล บิดเบือนข้อเท็จจริงนั้น สามารถทำได้ ไม่ว่าจากฝ่ายใดวิธีที่ดีที่สุดก็คือ เตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ผู้บริโภคสื่อ คือตัวเรานั้น เป็นเหยื่อ เป็นเหยื่อและเป็นเหยื่อจากนั้นก็คิดวิธีรักษาตัวให้รอดจากการตกเป็นเหยื่อให้ได้เป็นลำดับถัดมาขอให้โชคดีทุกคน.การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน- ความหมายของการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน- การตรวจสอบสื่อการเรียนการสอนการตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)- การทดสอบสื่อการ ประเมินผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การวัดผลสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย (Interpretation) และตัดสินคุณค่า (Value judgment) เพื่อที่จะรู้ว่า สื่อนั้นทำหน้าที่ตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใด มีลักษณะถูกต้องตามที่ต้องการ หรือไม่ประการใดการตรวจสอบสื่อการเรียนการสอนการตรวจสอบแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือการตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative)การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
1. ลักษณะสื่อ
1.1 ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ
1.2 มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards)
1.3 มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical Standards)
1.4 มาตรฐานความงาม(Aesthetic standards)
ผู้ตรวจสอบลักษณะสื่อการเรียนการสอน ได้แก่ นักโสตทัศนศึกษานักเทคโนโลยีการศึกษา
2. เนื้อหาสาระเนื้อหา
ที่ปรากฏในสื่อจะต้องครบถ้วนและถูกต้อง ความถูกต้องนี้จะถูกต้องตามเนื้อหารสาระจริง ซึ่งอาจบอกขนาด ปริมาณ และหรือเวลา เป็นต้น สาระ หรือมโนทัศน์ที่สำคัญต้องปรากฏอย่างชัดเจนผู้ตรวจสอบเนื้อหาสาระ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระเฉพาะ และครูผู้สอนกลุ่มเป้าหมายเป็นจำนวนอย่างน้อย 3 คน
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualilative basis)
เครื่องมือในการทดสอบคุณภาพสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือที่นิยมใช้กันมามี 2 แบบ คือ
1. แบบทดสอบ การพัฒนาแบบทดสอบมีขั้นตอนดังนี้
กำหนดจำนวนข้อของแบบทดสอบ
พิจารณากำหนดน้ำหนักวัตถุประสงค์แต่ละข้อของการพัฒนาสื่อ แล้วคำนวณจำนวนข้อทดสอบสำหรับวัตถุประสงค์แต่ละข้อสร้าง ข้อสอบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ 1.2 โดยสามารถวัดตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ในวัตถุประสงค์แต่ละข้อ โดยปกติควรจะสร้างข้อสอบสำหรับวัดแต่ละวัตถุประสงค์ให้มีจำนวนข้ออย่างน้อย ที่สุดเป็น 2 เท่าของจำนวนข้อสอบที่ต้องการเพื่อการคัดเลือกข้อที่เหมาะสมหลังจากที่ได้นำ ไปทดลองใช้และวิเคราะห์ข้อสอบพิจารณาตรวจเพื่อความถูกต้องนำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมายวิเคราะห์แบบทดสอบโดยตรวจค่าความเชื่อมั่น ความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความยากง่ายคัดเลือกข้อสอบให้มีจำนวนข้อตามความต้องการ
2. แบบสังเกต สิ่งสำคัญที่ควรสังเกต และบันทึกไว้เป็นรายการในแบบสังเกต คือความสามารถเข้าใจได้ง่าย (Understandable)การใช้ประสาทสัมผัสได้ง่าย เช่น มีขนาด อ่านง่าย หรือดูง่าย คุณภาพของเสียงดี ฟังง่าย ฯลฯการเสนอตัวชี้แนะ (Cuing) สำหรับสาระสำคัญเด่น ชัดเจน สังเกตง่าย (Noticable)ระยะเวลาที่กำหนดเหมาะสมวิธีการใช้ที่ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก หรือสลับซับซ้อนผู้เรียนสนใจ และติดตามการแสดงของสื่อโดยตลอดตัวแทนกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้เรียน หรือบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายซึ่งคัดเลือกมาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามจำนวนที่ต้องการในแต่ละครั้งของการทดสอบ

การนำเสนอบนเว็บนั้นก็จัดเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของกระบวนการสื่อสาร รูปแบบและกระบวนการสื่อสารนั้นประกอบด้วยกระบวนการสื่อสารมีองค์ประกอบ 4 ส่วน ดังนี้
1. ผู้ส่งสาร (Sender) ซึ่งก็คือเรานั่นเอง
2. สาร (Message) หมายถึง สิ่งที่เราต้องการนำเสนอ
3. สื่อหรือช่องทาง (Medium/Channel) หมายถึง ตัวกลางหรือสิ่งที่จะนำสารที่เรา ต้องการต้องการนำเสนอไปสู่ผู้รับ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ต่างๆ และในที่นี้ก็คง จะเป็น Web Site นั่นเอง
4. ผู้รับ (Receiver) ก็คือผู้รับสาร และการนำเสนอผ่าน WWW นั้นผู้รับสาร เรามีมากมายทั่วโลกที่จะเข้ามาชม Web ของเรา ดังนั้นในการออกแบบและจัด ทำนั้นเราควรมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้เรามีเป้าหมายในการทำงาน
หลักการโดยทั่วไปในการจัดทำ Web เท่าที่ค้นคว้าและสรุปได้เป็นดังนี้
1. การวางแผน ข้อนี้ผมได้กล่าวไปแล้วนะครับ
2. การเตรียมการ เช่น การเตรียมการด้านข้อมูลทั้งที่เป็นเนื้อหา ภาพ เสียง หรือสิ่งจำเป็นต่างๆ ที่ท่านคิดว่าต้องการจะนำเสนอ
3. การจัดทำ เมื่อวางแผนและเตรียมการเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาจัดทำแล้วนะครับ บางท่านอาจจะทำคนเดียว เช่นเดียวกันกับผมก็ได้ การทำเว็บคนเดียวไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก แต่ขอให้มีเวลาให้ก็พอ แต่บางครั้งความคิดความอ่านอาจจะไม่แล่นเท่ากับทำหลายคน
4. การทดสอบ การทำงานทุกครั้ง ควรจะมีการทดสอบก่อนเผยแพร่ทุกครั้ง เพื่อหาข้อบกพร่องแล้วนำมาแก้ไข การทำเว็บนั้น เมื่อทำเสร็จและ Upload ไปไว้ใน Server แล้วไม่ว่าจะเป็นของฟรีหรือเสียเงินก็ตาม ให้ท่านลองแนะนำเพื่อนฝูงที่สนิทชิดเชื้อและใช้ิอินเทอร์เน็ตอยู่ ลองเปิดดูและให้บอกข้อผิดพลาดมา เช่น การ link ต่างๆ, รูปภาพ และตัวอักษรว่าถูกต้อง ช้าไปหรือเปล่า เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลต่อเว็บทั้งสิ้น

ถ้าหากท่านทดสอบจากเครื่องของท่านเองแล้ว ข้อผิดพลาดต่างๆ มักจะไม่ค่อยปรากฏให้เห็น เนื่องจากว่าข้อมูลต่างๆ จะอยู่ในเครื่องของท่าน และ link ต่างๆ เช่นกัน โปรแกรมจะทำการค้นหาในเครื่องจนพบ ทำให้เราไม่เห็นข้อผิดพลาด
5. การเผยแพร่ เมื่อทำการทดสอบ แก้ไขปรับปรุงเสร็จแล้ว ท่านก็สามารถเผยแพร่เว็บของท่านออกสู่สาธารณชนได้แล้ว ส่วนจะประชาสัมพันธ์อย่างไร ก็สุดแล้วแต่ท่านเอง
"ถ้าจะทำเว็บ จะทำเรื่องอะไรดี" ผมก็ตอบว่า "ทำเรื่องที่เราถนัดและรู้ดีที่สุด" อย่างที่ผมเรียนให้ทราบตั้งแต่แรกนั่นละครับ ทำคนเดียวดูคนเดียวก่อนก็ได้ ถ้าคิดว่าดีพอแล้ว ก็บอกเพื่อนๆ ให้ทราบ และถ้าคิดว่าถึงเวลาจะประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรับรู้ก็ลองติดต่อกับเว็บไซต์ดังๆ ให้เขาช่วยนำเสนอ หรือจะแลก link กับเว็บไซต์อื่นๆ ก็ไม่ผิดกติกาอันใด
ถ้าหากท่านยังไม่ทราบจริงๆ ว่าจะทำอะไรดี ลองมาดูแนวทางและเนื้อหาที่ควรจะนำเสนอซึ่งมีดังนี้
1. เรื่องของตัวเอง เอาเรื่องนี้แหละ ลองเขียนดู อยากเล่าอะไรเกี่ยวกับตัวเองให้คนอื่นได้รับรู้ เช่น ความชอบ ความถนัด เรื่องราวประทับใจในวัยเด็ก วัยรุ่น วัย...เยอะแยะไปหมดงานอดิเรก ภาพถ่ายต่างๆ ฯลฯ
2. เรื่องงานอดิเรกหรือเรื่องที่สนใจเป็นพิเศษ หัวข้อนี้ก็แยกมาจากข้อ 1 หากใครไม่ต้องการเล่าเรื่องตัวเองให้ใครได้รับรู้ ก็เอาเรื่องที่เราชอบหรือสนใจเป็นพิเศษ ยกตัวอย่าง เว็บไซต์แรกที่ทำเป็นเรื่องการถ่ายภาพหลังๆ นี้วิชาชักแก่กล้าก็หันมาเล่นเรื่องเทคโนโลยีการศึกษาระดับชาติกันเลยทีเดียว
3. เรื่องราวข่าวสารต่างๆ จากนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ บางครั้งเราอ่านหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารต่างๆ และมีเรื่องราวที่น่าสนใจ บางคนตัดแปะเก็บเอาไว้ตั้งแต่สมัยยังไม่มีเว็บไซต์และพอเริ่มรู้จักเว็บและอยากมีเว็บเป็นของตัวเอง ถ้าไม่รู้จะเสนออะไร ก็เอาข่าวหรือเรื่องราวพวกนี้แหละมานำเสนอ ทั้งเก่าและใหม่ คละเคล้ากันไป ตัวอย่างก็มีให้เห็นกันมากมาย
4. เรื่องราวของบริษัท บางท่านอาจจะทำงานในหน่วยงาน และร้อนวิชาอยากจะทำเว็บไซต์นี่ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะเพิ่มความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของท่าน ก็ลองปรึกษาหัวหน้างานดูว่า ถ้าจะอาสาทำให้นี่จะได้ไหม
5. เรื่องราวของโรงเรียน ข้อนี้ สำหรับโรงเรียนที่ต้องการจะทำเว็บไซต์ในแง่มุมต่างๆ อาทิประวัติความเป็นมา รายชื่ผู้บริหาร ครูอาจารย์ ผลงานของโรงเรียน ฯลฯ เป็นต้น เท่าที่สำรวจมาส่วนใหญ่ก็จะเป็นอย่างนี้ ทีนี้ จะเสนอแนวคิดในการทำเว็บไซต์เพื่อการศึกษาบ้าง เช่น การนำเสนอแผนการสอนหรือวิธีการสอนที่ใช้แล้วนักเรียนสนใจเรียนและมีผลการเรียนดีขึ้น หรือ การสร้างและผลิตสื่อสารสอนโดยใช้วัสดุท้องถิ่น ต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น ถ้าหากโรงเรียนแต่ละโรงเรียนเสนอแนวคิดของตนเองเพียงหนึ่งคิด หากมีสัก 500 โรงเรียนทั่วประเทศเราก็จะมีแนวคิดที่หลากหลาย อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาต่อไป

การนำเสนอด้วยเว็บ(Web Presentation)
เพื่อให้การนำเสนอด้วยเว็บเป็นไปอย่างน่าสนใจและดึงดูดผู้คนให้เข้ามาชม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงหลักการและวิธีการในการออกแบบและการนำเสนอ เพราะถ้าหากทำไปโดยปราศจากการออกแบบหรือการนำเสนอที่ดีแล้ว ผู้ชมอาจจะไม่สนใจและใส่ใจที่จะเข้ามาชม ทำให้การนำเสนอในครั้งนั้นสูญเปล่าได้ดังนั้นผู้ที่จะออกแบบควรเรียนรู้และเข้าใจถึงกระบวนการของการนำเสนอก่อน
เนื่องจากเวิลด์ไวด์เว็บนั้น นอกจากจะเป็นแหล่งข้อมูลที่หลากหลายเพื่อการค้นหาแล้ว หน่วยงานและองค์กรต่างๆ รวมถึงบุคคลยังสามารถใช้เว็บเพื่อเป็นสื่อในการนำเสนออีกทางหนึ่งด้วยและกระบวนการนำเสนอผ่านเว็บนั้นก็ไม่ได้แตกต่างจากการนำเสนอผ่านสื่ออื่นๆ เช่น การนำเสนอด้วยสไลด์ การนำเสนอด้วยรายการวิทยุโทรทัศน์ การนำเสนอผลงานด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม PowerPoint หรือการทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เท่าใดนัก แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้การนำเสนอด้วยเว็บมีความน่าสนใจและแตกต่างจากสื่ออื่นก็คือ สิ่งที่ปรากฏบนเว็บนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูล
ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังเป็นสื่อที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำเว็บกับผู้ชมหรือระหว่างผู้ชมกับผู้ชมด้วยกันเองได้ทันทีอีกด้วย โดยอาศัยหลักการที่เรียกว่า Common Gateway Interface (CGI)ซึ่งได้กล่าวถึงรายละเอียดในเรื่องของเว็บเพจแล้ว
ขั้นตอนในการนำเสนอ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การนำเสนอด้วยเว็บเพจก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับการนำเสนอด้วยสื่อทั่วไป คือมีวัตถุประสงค์เพื่อการสื่อสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับโดยมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อและขั้นตอนต่างๆในการนำเสนอผ่านเว็บ (Lemay, 1996; Nielsen, 1999; กิดานันท์ มลิทอง, 2542;) ได้กล่าวไว้ มีดังนี้
1. การวางแผนและตั้งวัตถุประสงค์
การวางแผนในที่นี้รวมถึงการกำหนดจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมายของการทำงานด้วยในการนำเสนอต่างๆ หรือทำเว็บก็ตาม หากมีจุดหมายว่า จะทำเพื่ออะไร เพื่อใคร อย่างไร เมื่อมีจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมายที่แน่ชัดแล้ว จะทำให้มองเห็นเป้าหมายในการทำงานได้ชัดเจนขึ้น ตัวอย่างเช่น หากต้องการจะนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องช้าง โดยมีจุดหมายเพื่อนำเสนอความรู้เกี่ยวกับช้างตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบันโดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคนที่สนใจเรื่องช้างและเรื่องธรรมชาติ และต้องการนำเสนอผ่านเว็บเมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้การทำงานในขั้นตอนต่อไปง่ายยิ่งขึ้น
2. รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูล
เมื่อได้เรื่องราวที่จะนำเสนอ โดยมีจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมายแน่ชัดแล้ว ก็ถึงขั้นตอนในการรวบรวมแหล่งข้อมูล จากตัวอย่างเรื่องช้างในข้อที่ 1. ก็ค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งที่เป็นเนื้อหา รูปภาพเสียงตลอดจนภาพเคลื่อนไหว และสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวกับช้าง ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อการนำเสนอ

3.ศึกษาและเรียงลำดับข้อมูล
หลังจากได้ข้อมูลเบื้องต้นมาแล้ว ควรที่จะศึกษาข้อมูลเหล่านั้นว่าส่วนไหนที่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกเป็นหมวดเป็นหมู่ได้หรือไม่ เช่น เมื่อหาข้อมูลเรื่องช้างมาได้พอสมควร อาจจะแยกแยะเป็นหมวด ดังนี้ประวัติของช้างตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ วิวัฒนาการของช้าง ประเภทของช้าง ช้างไทยประโยชน์ของช้าง ฯลฯ เป็นต้นเมื่อได้หัวข้อหลักแล้ว ส่วนประกอบย่อยต่างๆ ก็จะค้นหาได้ง่ายขึ้น
4. การออกแบบสาร
เมื่อได้เนื้อหาและหัวข้อในการนำเสนอแล้ว ลำดับต่อมาก็๋คือการออกแบบเนื้อหาให้น่าสนใจ ซึ่งตามหลักของเทคโนโลยีการศึกษา เรียกว่า การออกแบบสาร (message design) การออกแบบสารนี้นอกจากด้านเนื้อหาแล้ว ยังรวมไปถึงองค์ประกอบต่างในการนำเสนอด้วย เช่น สีของตัวอักษร, ภาพประกอบ กราฟิก, เสียงฯลฯ เหล่านี้จะต้องสื่อความหมายไปในทิศทางเดียวกันกับเนื้อหาด้วย นอกจากนี้ ควรจะเป็นมาตรฐานเดียวกันเช่น สีของตัวอักษร สัญรูปหรือปุ่มต่างๆ ที่ใช้ในการเชื่อมโยง
5. การเขียนแผนผังของงาน
การทำแผนผังของงาน (flow chart) จะทำให้ลำดับเรื่องราวได้ง่ายขึ้นและเป็นประโยชน์ในการเชื่อมโยงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งในการออกแบบเว็บนั้นนักออกแบบบางคนจะทำแผนผังของงานโดยใช้กระดาษสติกเกอร์ที่สามารถลอกออกได้แปะไว้บนบอร์ด ตามลำดับของเนื้อหาเพราะง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงหรือบางคนอาจจะใช้วิธีการเขียนบนไวท์บอร์ดด้วยปากกาที่ลบได้โดยง่าย

6. การเขียนบทภาพ (storyboard)
การเขียนบทภาพ (storyboard) ของงานลงในกระดาษก่อนลงมือทำ นอกจากจะทำให้ เรากำหนดองค์ประกอบของงานได้อย่างคร่าวๆ แล้วยังช่วยให้มองเห็นภาพของงานชัดเจนยิ่งขึ้น และเมื่อลงมือทำงานจริงๆก็จะทำได้ง่ายขึ้น
7. การจัดทำเว็บ
เมื่อผ่านขั้นตอนทุกอย่างจนมาถึงขั้นการจัดทำแล้ว การลงมือทำถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของกระบวนการเพื่อผลสำเร็จของงาน โดยทำตามแผนภาพของงานจะทำให้การทำงานสะดวกยิ่งขึ้น
8. ทดสอบและประเมินผล
หลังจากทำเสร็จทุกขั้นตอนของการจัดทำแล้ว ควรจะมีการทดสอบและประเมินผลจากตัวผู้จัดทำก่อนโดยสมมติว่าเป็นผู้ชมคนหนึ่ง โดยดูองค์ประกอบต่างๆ ที่ได้ทำขึ้นมา เช่นการเชื่อมโยงตรงตามที่กำหนดไว้หรือไม่ สีที่ใช้ในการเชื่อมโยงเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกหน้าและใช้การได้หรือไม่ ภาพหรือกราฟิกตรงตามเนื้อหาหรือวัตถุประสงค์หรือเปล่า ฯลฯ เป็นต้น
จากนั้น เมื่อได้ถ่ายโอนข้อมูลไปเก็บไว้ยังเครื่องบริการเว็บแล้ว ก็ควรแนะนำเพื่อนหรือคนอื่นๆช่วยตรวจสอบอีกครั้ง ซึ่งถ้าถ่ายโอนข้อมูลไม่ครบ และทำการทดสอบด้วยเครื่องที่จัดทำก็จะไม่พบข้อบกพร่อง เนื่องจากแฟ้มข้อมูลต่างๆ ถูกบรรจุอยู่ไว้ในเครื่องที่จัดทำอยู่แล้ว โปรแกรมก็จะนำแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในเครื่องมาแสดงผล แต่ถ้าเป็นเครื่องอื่นหากเราถ่ายโอนข้อมูลไม่ครบ ก็จะพบข้อผิดพลาด
9. การประชาสัมพันธ์
หลังจากทำการทดสอบและประเมินผลจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว ก็สามารถประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้อื่นได้รับรู้โดยผ่านทางคนรู้จักหรือผ่านทางเว็บที่ให้บริการประชาสัมพันธ์เว็บใหม่
เนื้อหาที่นำเสนอผ่านเว็บ
เนื่องจากการนำเสนอเนื้อหาผ่านเว็บนั้น ไม่ได้มีข้อกำหนดเอาไว้ว่าควรนำเสนอในเรื่องใด ดังนั้นเนื้อหาต่างๆ ที่ปรากฏบนเว็บจึงมีแทบทุกประเภท เช่น การค้า การศึกษา การแพทย์ การทหาร เทคโนโลยี บันเทิง เกม กีฬา อาหาร หรือแม้กระทั่งเรื่องราวส่วนตัว ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเว็บที่มีเนื้อหาในแง่ลบอีกด้วยซึ่งในแต่ละวันจะมีเว็บไซต์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ที่มา http://www.kradandum.com/thesis/thesis-02-4.htm

ที่ตั้งโบราณสถาน


ตั้งอยู่ ต.ในเมือง ในตัวอำภอพิมาย ห่างจากตัวเมืองโคราชประมาณ 60 กิโลเมตร ตัวอุทยานตั้งอยู่ฟากทิศตะวันออกของแม่น้ำมูล บนพื้นที่ ๑๑๕ ไร่ วางแผนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๕๖๕ เมตร ยาว ๑,๐๓๐ เมตร ลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทหินอื่นๆที่มักหันไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางตัดมาจากเมืองยโศธรปุระ เมืองหลวงในสมัยนั้นของขอม ซึ่งเข้ามาสู้เมืองพิมายทางทิศใต้
ข้อมูลทั่วไป
เปิดเวลา 07.30-18.00 น.
ค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท
โทร. 0-4447-1568


เมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะขอม มีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ ที่ปรากฏในจารึกภาษาขอมบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะสร้างบ่งบอกว่า สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคที่อาณาจักรขอมแผ่อิทธิพลมายังภูมิภาคนี้ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593) และมีการก่อสร้างเพิ่มเติมในช่วงรัชกาลสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724-1761) มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรขอม ในปี พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติและเริ่มบูรณะในปี พ.ศ. 2494 และ พ.ศ. 2497 กรมศิลปากรได้บูรณะองค์ปรางค์ประธานอีกครั้ง โดยได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศส จนแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ. 2507-2512 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 กำหนดให้เมืองโบราณพิมายและปราสาทหินพิมายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ในปี พ.ศ. 2529 โดยมีการอนุรักษ์และบูรณะเป็นอย่างดี


อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย


อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยอาณาจักรขอมที่ใหญ่โตและงดงามบางคนอาจหลงใหลในสีสันเมืองกรุงที่เต็มไปด้วยตึกสูงดีไซน์ต่างๆ จนไม่เคยหันมาสนใจก้อนหินเหล่านี้ที่มีค่ามากเกินกว่าจะตีเป็นราคาได้
การท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมาในช่วงนี้นับว่าเป็นช่วงขาขึ้น เพราะที่ผ่านมาได้มีโอกาสจัดกีฬาซีเกมส์ไปหมาดๆ ทำให้ที่นี่คึกคักอย่างมาก
ผู้คนในจังหวัดเองก็กระตือรือร้นที่จะต้อนรับแขกจะที่มาเยือนกันอย่างเต็มที่ ทั้งคนไทยและคนต่างชาติก็ได้รู้จักโคราชมากขึ้น แม้จะไม่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง แต่ก็มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย คือ สถานที่ที่ทรงคุณค่ามากๆ ไม่ว่าใครที่มาโคราชจะต้องมาที่นี่ เพื่อสัมผัสกับบรรยากาศเก่าแก่แบบนี้ ปราสาทหินพิมายตั้งอยู่ในตำบลในเมือง อำเภอพิมาย
ห่างจากตัวเมืองประมาณ 60กิโลเมตร ปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนานิกายมหายานที่มีความสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีอายุราว 1,000ปีมาแล้ว

ชื่อ นายเอกลักษณ์ กุลสวัสดิ์

รหัสนิสิต 51010511035

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม